วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สกุลแคคตัส(ต่อ)

สกุล Opuntia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 400 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Opuntia มาจากชื่อเมือง Opuntia ในประเทศกรีซ แคคตัสในสกุลนี้มีหลากหลายลักษณะ มีทั้งต้นเล็ก เป็นทรางกลมต่อๆ กันจนถึงชนิดที่มีขนาดใหญ่ เป็นทรงการะบอกต่อกัน และสูงกว่า 2 เมตร และบางครั้งก็พบว่ามีลักษณะสูงใหญ่เหมือนไม้ยืนต้นส่วนหนามก็มีทั้งแบบแข็ง ยาว และ เป็นอันตราย เช่น O[untia bigelovii หรือเป็นแบบอ่อนคล้ายการะดาษ เช่น Opuntia platyacantha ดอกของแคคตัสใสสกุลนี้ไม่มีท่อดอก แต่ส่วนรังไข่มีขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง สีน้ม สีแดง และ สีม่วงแดง มักจะออกดอกดกและสวยงามมาก ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะมีสีเหลืองถึงสีแดง ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 7.5 เซนติเมตร แคคตัสในสกุลนี้หลายชนิดสามารถผสมตัวเองจนเกิดผลและร่วงหล่นจนงอกเป็นต้นใหม่เองได้เช่น Opuntia fulgida แคครัสสกุลนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศแคนาดา ตอนใต้ของสหรัฐเอมริกา แม็กซิโก เอมริกากลาง ตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีส เกาะกาลาปาโกส และใต้สุดของเทียราเดลฟิวโกในพาทาโกเนีย พบได้มากในที่ที่มีระดับความสูง 3700 เมตร จากระดับน้ำทะเลส่วนใหญ่ชอบน้ำและทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ถึง -18 องศาเซลซียส แต่มีบางชนิดที่มาจากทางตะวันตกของหมู่เกาะเวสต์อินดีสไม่สามารถทนอากาศหนาวเย็นได้

สกุล Sulcorebutia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 40 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Sulcorebutia มาจากภาษาละตินว่า sulcus ซึ่งหมายถึง ร่องหรือรอย แคคตัสในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายกับสกุล Rebutia ต่างกันตรงที่รุ่มหนามจะแคบและยาวกว่า มักจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือยู่ราวกันเป็นกลุ่ม ลำต้นมีลักษณะทรงกลม เป็นสันชัดเจน มีหลายสี เช่น สีเขียว สีออกแดง หรือสีเทาอมดำ หนามมีลักษณะเป็นรูปหวี ไม่มีหนามากลาง ดอกมีลัษณะคล้ายกับสกุล Rebutia เกิดที่บริเวณโคนต้น กลีบดอกมีผิวมันคล้ายเคลือบด้วยขค้ผึ้ง ในบางชนิดกลีบดอกอาจะมี 2 สีปนกัน ผลมีลักษณะทรงกลมหรือเป็นรูปขอบขนาน ผิวเรียบเรือมีเกล็ดปกคลุมเล็กน้อย แคคตัสในสกุล Sulcorebutia มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศโบลิเวียพบมากตามภูเขาสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มี่แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี

สกุล Thelocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ประมาณ 25 ชนิด และอีกหลากหลายสายพันธุ์ Thelocactus มาจากภาษากรีก หมายถึง แคคตัสหัวนม ( nipple cactus ) มีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก สีเขียวถึงสีเทาอาจจะขั้นอยู่เป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวๆ ก็ได้ โครงสร้างของพูกลีบมีลักษณะเป็นหัวย่อยๆ มากมาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร และสูงประมาณ 25 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสัน 20 สัน ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ มักมีปุยสีขาวหรือสีครีมปนอยู่ด้วยประกอบไปด้วยหนามข้างค่อนเล็กและแข็งแรงปานกลาง มักขึ้นแผ่กระจายแนบขนานไปกับลำต้น ประมาณ 25 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางเข็งแรงกว่าหนามข้าง มีหลาลักษณะ เช่น ตรง โค้งงอ หรืออ้วน และมีหลายสี เช่นสีขาว สีเหลือง สีแดงและสีดำ มีอยู่ประมาณ 1 – 4 อัน ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีม่วงแดง มี ลักษณะบานแผ่ออกกว้าง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 7 เซนติเมตร ส่วนผลมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ เมื่อแก่จะแห้งและแตกออก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แคคตัสสกุล Thelocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเม็กซิโกทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตช้า แต่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินที่มีการระบายน้ำดีปานกลาง ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามาตรทนต่ออุณหภูมิต่ำได้

สกุล Uebelmannia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ลำต้นมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสันสีน้ำตาลลอมแดง ผิวต้นเป็นมันคล้ายเคลือบด้วยขี้ผึ้ง สันต้นประกอบไปด้วยตุ่มหนามที่มีปุยสีขาวปกคลุม และมีหนามแข็ง สั้นๆ ตั้งตรงสีขาวอยู่ 2 – 3 อัน ดอกมีสีเหลืองลักษณะทรงกรวย ขนาดเล็ก จะผลิดอกบริเวณปลายยอดของต้น ผลมีลักษณะทรงกลมถึงทรงกระบอก สีเหลืองอมเขียวหรือสีแดง เกิดบริเวณลายยอดของต้น เมล็ดมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ สีดำหรือสีน้ำตาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กาลางประมาณ 2.3 มิลลิเมตร แคคตัสสกุล Uebelmannia มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบประเทศบราซิลชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่มเงา ความชื้นในอากาศต่ำ และอากาศอบอุ่น และที่สำคัญก็คือไม่ควรให้น้ำโดยการรดลงดินโดยตรงแต่ควรให้โดยการฉีดพ่นเป็นฝอยจะดีกว่า

สกุลแคคตัส(ต่อ)

สกุล Gymnocalycium
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากว่า 120 ชนิดและอีกหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล Gymnocalycium มาจากภาษากรีก หมายถึง ตาเปลือย ( naked bud ) แคคตัสในสกุลนี้เป็นสกุลที่น่าสนใจ เพราะมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันออกไปและมีดอกที่มีสีสันสวยงาม ลางชนิดอาจมีขนาดเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 7.5 เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium baldianum แต่บางชนิดก็อาจจะมีขนาดใหญ่ มีขานดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20เซนติเมตร เช่น Gymnocalycium spegazzinii
ชนิดที่มีต้นขนาดเล็กมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนชนิดที่มีขนาดใหญ่มักจะพบขึ้นอยู่เป็นต้นเดี่ยวๆ สีของต้นมีตั้งแต่สีเขียวถึงสีน้ำตาลแดงหรือเป็นสีเทาคล้ายหินชนวน ลำต้นเป็นสันประมาณ 6 – 20 สัน มีลักษณะยื่นออกมาคล้ายคาง ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ปกคลุมด้วยปุยสีขาวหรือสีเหลือง ในต้นที่มีขนาดเล็กตุ่มหนามจะอยู่ชิดติดกัน ส่วนในต้นที่มีขนาดใหญ่นั้นตุ่มหนามจะอยู่ห่างกัน ตุ่มหนามประกอบไปด้วยหนามข้างที่ละเอียดกระจายแยกออกจากกันแนบกับลำต้น มีอยู่ประมาณ 2 – 12 อันและยาวประมาณ 1 – 6 เซนติเมตร
ส่วนหนามกลางจะยาวกว่าหนามข้างเล็กน้อย มีลักษณะแข็ง โผล่ตั้งออกมาจากลำต้น และมีหลายสี ดอกมีกลายลักษณะ มีทั้งที่เป็นทรงกรวยและทรงระฆัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 7.5 เซนติเมตร มีหลายสี เช่น สีขาว สีเขียว สีชมพู และสีแดง ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวปนน้ำตาล สีแดง หรือ สีเทาคล้ายหินชนวน ผิวของผลมีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายกับผิวนอกของหลอดดอก มีขนาดยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร แคคตัสในสกุล Gymnocalycium มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายๆพื้นที่ของประเทศอาร์เจนตินา โบลิเวีย ปารากวัย และอุรุกวัย พบได้ในหลายพื้นที่ ทั้งในที่ที่มีระดับความสูง 3500 เมตร ในทุ่งหญ้า หิน ดิน ทราย ลางชนิดที่มีรูปร่างอ้วน กลม นั้น เคยพบว่าถูกฝังอยู่ในทรายตลอดฤดูร้อน แคคตัสในสกุลนี้ลูกเลี้ยงง่าย สามารถออกดอกได้ภายในเวลา 2 – 3 ปี ในช่วงฤดูร้อนควรให้น้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาวเพื่อให้สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำได้


สกุล Lophophora
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียง2ชนิดแต่มีหลากหลายสายพันธุ์ชื่อสกุล L0phophora มาจากภาษากรีก หมายถึง การผลิตดอกออกผลที่ส่วนยอด ( crest – bearing ) ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม อ่อนนุ่ม สีเหลืองซีดจนถึงสีเขียวอมฟ้า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 – 13 เซนติเมตร มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ และเป็นกลุ่ม
เป็นระบบรากสมบูรณ์ลำต้นเป็นสัน 5 – 13 สัน ตุ่มหนามเป็นปุย สีขาว อยู่ห่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ไม่มีหนาม ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว สีเหลืองครีม และสีชมพู จะมีเส้นสีเข้มตรงกลางตามความยาวของกลีบดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร จะเกิดดอกบริเวณยอดที่มีสีขาวปกคลุมผลมีลักษณะยาว รี ค่อนข้างเล็ก เมื่อแก่จะเป็นสีขาว สีชมพู หรือสีแดงภายในจะมีเมล็ดอยู่ 2 – 3 เมล็ด แคคตัสในกลุ่ม Lophophora มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันออกเฉียงหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาเช่น ในรัฐเท็กซัส สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวหรือดินทรายโตช้า แต่ให้ผลได้ง่าย สามารถออกดอกภายในเวลา 5 – 6 ปี


สกุล Mammillaria
แคคตัสในสกุลนี้มีมากมายกว่า 400 ชนิดและอีกหลากหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Mammillaria มาจากภาษาละตินว่า Mammilla ( nipple ) หมายถึง โครงสร้างที่เป็นเนินหนามขนาดเล็กของพืช ชื่อสกุลนี้ตั้งโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ E.H. Haworth แคคตัสในสกุลนี้มีรูปทรงแตกต่างกันออกไปมากมาย
มีทั้งที่เป็นทรงกลมแป้นและทรงกระบอก อาจจะขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม
ในแต่ละกลุ่มก็จะประกอบด้วยหัวที่มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป ใน 1 หัวจะประกอบไปด้วยเนินหนาม ซึ่งระหว่างรอยต่อของเนินหนามมักจะมีขนปกคลุมอยู่ หนามก็มีหลายสี หลายขนาด ลักษณะเป็นขนแข็งหรือตะขอ ดอกมีลักษณะเป็นทรงระฆังหรือทรงกรวย มีขนาดเล็ก ผลิตเป็นวงตรงยอดต้น และมักจะมีท่อดอกสั้น ยกเว้นเพียงไม่กี่ชนิดที่จะมีท่อดอกขนาดยาว เช่น Mammillaria saboae fa. Haudenan ส่วนผลมีขนาดค่อนข้างเล็กเป็นรูปไข่ยื่นยาวและเรียวเล็กผิวเกลี้ยงเรียบ มีหลายสี เช่น สีเขียว สีชมพู หรือสีแดงเมื่อแก่เต็มที่แล้ว
แคคตัสสกุล Mammillaria มีถิ่นกำเนิดอยุ่ในประเทศเม็กซิโกแต่บางชนิดก็อาจจะพบได้ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา แถบตะวันตกของหมู่เกราะเวสต์อินดีส และแถบอเมริกาใต้ แคคตัสในสกุลนี้สามารถปลูกเลี้ยงและออกดอกได้ง่ายในดินที่มีการะบายน้ำดี ส่วนชนิดที่มีหนามมาหนาแน่นมากจะต้องการร่มเงาบ้างเล็กน้อย


สกุล Melocactus
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่มากมายกว่า 60 ชนิด ชื่อสกุล Melecactus มาจากภาษากรีกว่า Melos ( Melon ) หมายถึง รูปทรงของต้นที่เป็นทรงกลมแป้นหรือทรงการะบอก มีทั้งที่ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ หรือชึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่จนถึงระยะผลิตดอกออกผลจะเกิดปุยนุ่มที่เรียกว่า cephalium ที่บริเวณยอดของต้น ซึ่งดอกและผลก็จะเกิดขึ้นในบริเวณนี้ด้วย แคคตัสในสกุลนี้มีลำต้นสูงประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เป็นสันประมาณ 9 – 20 สัน มีตุ่มหนามรูปไข่ขนาด 2.5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยหนามข้างที่มีลักษณะโค้งงอ แนบขนานไปกับนำต้น ประมาณ 8 – 15 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 1.25 7.5 เซนติเมตร ส่วนหนามกลางยื่นตรงออกมาจากลำต้น มีอยู่ประมาณ 1 – 5 อัน และยาว 2 – 9 เซนติเมตร
ทั้งหนามกลางและหนามข้างแข็งแรงมาก ยกเว้นชนิดที่มีหนามสั้นซึ่งหนามมักอ่อนและละเอียด สีหนามมีหลายสี เช่น สีขาว น้ำตาลออกแดงเข้ม และดำ บริเวณ cephalium ประกอบด้วยขนสีขาวหรือสีอื่นๆ และอาจมีหนามแข็งสีต่างๆ ได้ด้วยดอกมีสีออกโทนม่วงแดง มักออกเป็นวงและฝั่งจมอยู่ใน cephalium มีขนาดยาวประมาณ 1.25 – 3.75 เซนติเมตร โดยความยาวของดอกซ่อนอยู่ใน cephalium ผลมีลักษณะยาวเป็นทรงไม่พลอง ยาวมากกว่า 2.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีชมพูถึงสีแดงแจ่มจ้า บางครั้งผลก็จะจมอยู่ใน cephalium ไม่ปรากฏออกมาให้เห็น แคคตัสสกุล Melocactus พบมากที่สุดในบริเวณตอนใต้ของหมุ่เกาะเวสต์อินดีส ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกาและบราซิล ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในหลายๆ พื้นที่และหลายๆ สภาพแวดล้อม จะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 ต้นจึงจะสร้าง cephalium แต่ถ้าเป็นชนิดที่ต้นมีขนาดเล็กอาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้ในช่วงฤดูร้อนมีความต้องการน้ำมาก แต่ควรงดให้น้ำในช่วงฤดูหนาว

สกุล Obregonia
แคคตัสในสกุลนี้มีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Obregonia denegrii ซึ่งได้รับการค้นพบในปี พ.ศ. 2468 ชื่อสกุล Obregonia ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีของประเทศเม็กซิโก คือ Alvaro Obregon ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลม มีจุดเด่นคือ เป็นกลีบหนา สีเขียว ปลายงอนแหลม เรียงหงายซ้อนกันเป็นชั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร และมีขนาดฐานกว้างถึง 2.5 เซนติเมตร ตุ่มหนามอยู่บริเวณปลายกลีบ มีปุยนุ่มสีขาว ประกอบไปด้วยหนาม 4 อัน แต่ละอันยาวมากกว่า 1.5 เซนติเมตร ดอกจะเกิดบริเวณปุยนุ่มตรงกลางยอดของต้น มีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนผลมีสีขาวหรือสีชมพูซีด ขนาดเล็ก เมื่อแห้งจะแตกออก
แคคตัสกลุล Obregonia มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยเมล็ด ชอบขึ้นใต้ร่มเงาของต้นไม่จำพวก xerophyte เจริญเติบโตค่อนข้างช้า ของดินที่มีการะบายน้ำดี ชอบร่มเงา ถ้าต้นได้รับแสงมากเกินไปจะแดงและชะงักการเจริญเติบโต




สกุลของแคคตัส

สกุล Ariocarpus
มีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 8 ชนิดกับอีก 2-3 สายพันธุ์ ชื่อสกุล Ariocarpus นี้มาจากคำว่า Aria ซึ่งหมายถึงผลของแคคตัสสกุลนี้นั้นเอง ลักษณะของแคคตัสในสกุลนี้ส่วนใหญ่จะมีลำต้นขนาดเล็ก ( เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 15 เซนติเมตร) มักจะขึ้นเป็นต้นยาวๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ต้นอาจเตี้ยจนมีมีผิวด้านบนเสมอกับพื้นดิน แคคตัสสกุลนี้บางชนิดจะมีเนินหนามซึ่งอาจยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร เช่น Ariocarpus tri gonus บางชนิดก็มีขนเป็นปุยนุ่มอยู่ที่ซอกเนินหนามซึ่งเป็นบริเวณที่ออกดอกแต่จะมีบางชนิดที่ออกดอกบริเวณยอดของต้น ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร ดอกมักมีสีขาวหรือสีครีม มีบางชนิด เช่น Ariocarpus lotschoubeyanus มีดอกสีชมพูหรือสีม่วงแดง ผลมีลักษณะเป็นทรงการะบอก ยาวประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร แคคตัสสกุล Ariocarpus นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาแคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตช้า และจะเจริญเติบโตได้ดีตามหินหรือทรายที่สามารถระบายน้ำได้ทนแสงแดดจัดได้ดีแคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์
สกุล Astrophytum
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด และอีกหลายสายพันธุ์ ชื่อสกุล Astrophytum มาจากภาษากรีก แปลว่าพืชดาว ลำต้นอ้วนกลม หรือเป็นทรงการบอก บางชนิดอาจมีความสูงถึง 1 เมตร เช่น Astorphytum ornatum ลำต้นแข็ง บางชนิดจะมีปุยหรือเกล็ดสีขาวปกคลุมอยู่ บริเวณลำต้นมีสันต้น 5- 9 สัน อาจมีหนามหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ตุ่มหนามมีลักษณะเป็นปุยสีขาวคล้ายสำลี หนามกลางและหนามข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน จึงไม่สามารถแยกได้ชัดเจนนัก หนามมีขนาดยาวประมาณ 3 – 10 เซนติเมตร แคคตัสสกุลนี้ออกดอกเป็นรูปกรวย บริเวณตอนกลางด้านบนของต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 – 9 เซนติเมตร สีของดอกส่วนมาก จะอยู่ในโทนสีเหลือง แต่อาจจะมีสีอื่นๆผสมอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น กลีบอกสีเหลือง บริเวณโคนกลีบและกลางดอกอาจจะเป็นสีส้มหรือสีแดง เป็นต้น ลักษณะผลเป็นทรงกลม มีขนาด 2.5 เซนติเมตร บางชนิดผลจะมีหนามปกคลุมคล้ายกับต้น เมื่อผลแก่เต็มที่จะแตกออกทางด้านโคน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ แคคตัสสกุล Astophytum มีถิ่นกำเนิดแถบตอนกลาง ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศเม็กซิโก ยกเว้น Astrophytum asterias ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากแถบตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา แคคตัสสกุลนี้สามารถเจริญเติบโตได้ที่ระดับความสูงกว่า 2100 เมตร และเจริญเติบโตได้ในหลายพื้นที่ เช่น ระหว่างซอกหินทะเลทราย หรือใกล้กับไม้พุ่มจำพวกซีโรไฟต์ ( xerophytic bushes) ออกดอกว่าย โอยส่วนใหญ่ ใช้เวลา 3 – 6 ปี ก็จะได้ดอก และสามารถเพราะจากเมล็ดได้

สกุล Corypantha
แคคตัสในสกุลนี้ประกอบด้วย40ชนิดและหลายสายพันธุ์ชื่อCorypantha มาจากภาษากรีก หมายถึง ยอด และ ดอก รวมแล้วหมายถึง ตำแหน่งการออกดอกบนต้น ทรงต้นมีหลากหลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นทรงกลมขนาดใหญ่ และเล็ก ทรงกระบอก ทรงแท่งเล็ก ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาจพบขึ้นอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นต้นเดี่ยวกลุ่มที่มีอายุหลายปีอาจมีอยู่รวมกันถึง 50 หัวหรือมากกว่านั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจยาวถึง 65 เซนติเมตร เช่น Corypantha recurvata ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของรัฐแอริโซนา พบว่ามีถึง 200 หัว ตุ่มหนามมีลักษณะทรงกลมหรือรูปไข่ ประกอบด้วยหนาม 30 อัน ในลักษณะกระจาย หนามยาว 2.5 เซนติเมตร มีสีสันมากมายหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีชมพู สีส้ม จนถึงสีม่วงแดง บางชนิดกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยักเล็กๆ ที่ปลายกลีบ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ยาวถึง 5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวจนถึงโทนสีแดง แคคตัสสกุล Corypantha มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหลายแห่ง ทั้งทางเหนือสุดของรัฐอัลเบอร์ตาในประเทศแคนาดา ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และในประเทศเม็กซิโก พบได้ที่ระดับความสูง 2000 เมตร บางชนิดเช่น Corypantha vivipara นั้น พบได้ในหลายสภาพพื้นที่ เช่น ทางตอนเหนือที่อากาศหนาวเย็นของรัซอัลเบอร์ตาในเขตทุ่งหญ้า และบริเวณป่า แคคตัสในสกุลนี้ปลูกเลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ได้ทั้งเพราะเมล็ดและตัดแยก บางครั้งพบว่าหัวที่งอกใหม่นั้นมักมีรากงอกติดอยู่ด้วยในฤดูร้อนและฤดูฝนจะชอบน้ำมาก แต่ถ้างดให้น้ำในฤดูหนาวจะช่วยให้ทนต่อ อุณหภูมิต่ำได้ดี



สกุล Discocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่ไม่เกิน 20 ชนิด เจริญเติบโตได้ช้า มักขึ้นเป็นต้นเดี่ยวๆ ทรงกลมแป้น เมื่อต้นมีอายุมากขึ้นอาจจะแตกหน่อหรือกิ่งก้านได้ ต้นมีหลายสี ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวอมน้ำตาล และสีม่วงเข้ม ต้นเป็นสัน 10 -25 สัน และมีตุ่มหนามเป็นปุยนุ่ม ประกอบด้วยหนามข้าง 5 – 20 อัน แต่ละอันยาวประมาณ 3 เซนติเมตร หนามทั้ง 2 ชนิด สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน หนามมีหลายสี ตั้งแต่สีขาว สีเหลือง สีน้ำตาล จนถึงสีดำ แคคตัสสกุล Discocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล โบลิเวีย และปารากวัย การนำต้นไปเพาะเลี้ยงที่อื่นนอกถิ่นกำเนิดนั้นมักจะนิยมเพาะต้นจากเมล็ดมากกว่าการนำต้นที่โตแล้วไปเลี้ยงเพราะต้นจะตายได้ง่าย แคคตัสสกุลนี้เจริญเติบโตได้ดีในดินทรายที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ บางครั้งอาจจะใช้ดินผสมก็ได้ แต่ต้องมีการระลายน้ำที่ดี ต้นไม่สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสได้




สกุล Echinocactus
แคคตัสสกุลนี้มีอยู่มากกว่า 10 ชนิด ต้นมีทรงกลมถึงทรงกระบอก อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม บางชนิดมีขนาดใหญ่มาก อาจมีความสูงถึง 1.8 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เมตร ผิวต้นมีสีเขียวอมห้า เนื้อเยื่อชั้น epidermis ( เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของสิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ชั้นอื่นๆ ) แข็งแรงมาก ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดที่ร้อนแรงได้ดี ตอนกลางด้านบนของต้นจะมีปุยสีขาวถึงสีเหลื่องปกคลุมลำต้นเป็นสัน 8 – 50 สัน มีตุ่มหนามอยู่ห่างกันเห็นได้ชัดเจน ประกอบด้วยหนามช้างที่ตรงหรือโค้ง แผ่กระจายออกมาจากตุ่มหนาม แต่บางชนิดอาจแนบชิดไปกับผิวต้น มีความแข็งแรงมาก ประมาณ 5 – 12 อัน ยาวมากกว่า 5 เซนติเมตรและมีหนามกลางที่แข็งกว่ายื่นตรงออกมาจากต้น 1 – 4 อัน ยาวประมาณอันละ 5 – 10 เซนติเมตร สีหนามมีตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีเหลืองทองจนถึงสีดำ ดอกออกเป็นวงรอบยอดของต้นซึ่งมีปุยนุ่ม ส่วนชนิดที่ต้นมีขนาดใหญ่จะออกดอกเป็นวงรอบส่วนบนของต้น ดอกมีหลายสี แต่ส่วนมากอยู่ในโทนสีเหลือง ยกเว้น Echinocactus horizonthalonius ซึ่งมีดอกสีชมพูจนถึงสีม่วง ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.25 เซนติเมตรหลอดดอกมีลักษณะเป็นปุยนุ่ม เมื่อบานจะแผ่กว้างออก ผลมีสีเหมือนกับส่วนปุยนุ่มบนต้น ผิวภายนอกมีลักษณะเป็นขนหรือปุยนุ่มปกคลุมเมื่อแก่เต็มที่จะแห้ง แคคตัสสกุล Echinocactus มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนกลางและทางเหนือของประเทศเม็กซิโก และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา มักพบอยู่ตามบริเวณที่เป็นหินหรือพุ่มไม้ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดได้ดี เจริญเติบโตเร็ว โดยเฉพาะ Echinocactus grusonii แต่มีบางชนิด เช่น Echinocactus horizonthalonius และ Echinocactus polycephalus นั้น จะเจริญเติบโตช้า หากเกิดจากการเพาะเมล็ดเมื่อต้นยังเล็ก ควรระวังอันจรายจากอุณหภูมิต่ำและควรงดให้น้ำเมื่อถึงฤดูหนาว















เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากแคคตัส

แคคตัส ดูดรังสี
ปัจจุบันการทำงานหลายอย่างต้องใช้คอมพิวเตอร์ บางคนถึงกับนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ผลที่ตามมาคืออาการเมื่อยล้าทางสายตา ไปจนถึงขั้นปวดศีรษะ และอาเจียนหลากหลายวิธีลดความเจ็บปวดจากการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ มีผลวิจัยจากต่างประเทศเชื่อว่า ต้นกระบองเพชร หรือตะบองเพชร หรือแคคตัส (cactus) ที่ตั้งหน้าคอมพิวเตอร์ สามารถช่วยลดปัญหารังสีที่แผ่ออกมาได้ นายแพทย์ ศักดิ์ชัย ใช้จิกจา จักษุแพทย์ ผอ.มูลนิธิเทียนฟ้า อธิบายว่ารังสีอัลตร้าไวโอเลต หรือรังสียูวี รังสีเหนือม่วง พบในแสงแดด หลอดไฟ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งอย่างหลังคนเราสัมผัสใกล้ชิดมากกว่าอย่างอื่น การใช้คอมพิวเตอร์นานๆก่อให้เกิดปัญหาระคายเคืองเยื่อบุตา เคืองและแสบตา ส่งผลระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคต้อกระจกเร็วกว่าปกติ หรือมีปัญหาประสาทตาเสื่อม “ทีวีไม่ได้ดูรายละเอียดมากเท่าใช้สายตาเพ่งคอมพิวเตอร์ ใช้นานมีปัญหาต่อสายตาทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ปวดศีรษะ อาเจียนถึงขั้นหมดสติ ใช้ติดกันนานเป็นภาวะสายตาสั้นเกิดขึ้นชั่วคราว จริงๆไม่ได้สั้น แต่สายตาเปลี่ยนแปลงชั่วคราว รู้สึกว่าสายตาสั้น” ปัจจุบันคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่มีระบบกรองรังสี แต่เดิมวิธีการลดรังสีและแสงจ้าจากคอมพิวเตอร์ใช้การติดแผ่นกรองแสงรังสี หรือสวมแว่นกันแดดกรองรังสียูวี ซึ่งสามารถลดปริมาณรังสีและความจ้าของแสงสว่างที่แผ่ออกมาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น การติดหรือไม่ติดแผ่นกรองแสงจึงมีผลแตกต่างกันไม่มาก เพียงแต่การติดแผ่นกรองแสงช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เกิดความสบายใจ คลายความกังวล พร้อมกันนั้นช่วยลดแสงจ้า แสงสะท้อน และไฟฟ้าสถิต ทำให้อาการล้าของสายตาลดลง

ต่างประเทศมีการวิจัยและทำการทดลองนำกระบองเพชร หรือตะบองเพชร หรือแคคตัส (cactus) ตั้งหน้าคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆอันเกิดจากรังสีที่แผ่ออกมาได้ ในบทความเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากจอคอมพิวเตอร์ของโรเจอร์ (Roger Coghill) ได้อ้างถึงผลวิจัยของสถาบัน Recherches en Geobiologie ของสวิตเซอร์แลนด์และนักวิจัยในอเมริกา ลดรังสีที่ฉายออกมาโดยทดลองนำต้นตะบองเพชรความสูง 4 เซนติเมตรไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์ของลูกจ้างผู้เคยได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานจากอาการปวดหัวและความอ่อนเพลีย
แคคตัส ไม้อวบน้ำมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาและแอฟริกา ลำต้นมีรูปร่างอวบสั้น มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน มีทั้งแบบมีใบ และแบบเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำและป้องกันอันตรายทุกวันพุธและวันพฤหัสบดี บริเวณตลาดนัดจตุจักรเต็มไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด มารุต พิเชษฐ์วิทย์ เจ้าของสวนไม้ทราย จำหน่ายแคคตัสและพันธุ์ไม้ทะเลทราย ไม้แปลกและหายาก เล่าให้ถึงความนิยมแคคตัสดูดรังสีหน้าคอมพิวเตอร์ให้ฟังว่า “ส่วนใหญ่มาหาซื้อเพื่อนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์ดูดรังสี เพิ่งทราบว่าตะบองเพชรดูดรังสีได้ มีผลจากวิจัยจากเมืองนอกว่าหนามของมันเป็นสื่อดูดรังสีจากจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ อีกอย่างคิดว่าเพราะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสามารถนำไปตั้งไว้ในบ้าน เพื่อความสวยงาม เหมาะที่จะนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์” รูปทรงและพันธุ์ของแคคตัสมีมากมาย พันธุ์ที่สามารถดูดรังสีได้คือพันธุ์ที่มีหนาม “แคคตัสมีหลายประเภท ทั้งแบบที่มีหนาม ไม่มีน้ำ มีใบ เพราะฉะนั้นตัวที่ดูดรังสีได้น่าจะมีหนามค่อนข้างมาก หนามเป็นสื่อที่จะดูดรังสี ลักษณะโดยรวมของแคคตัสมีหนามเยอะอยู่แล้ว ถ้ามีหนามมากน่าจะดูดรังสีได้มาก” กระทั่งแคคตัสที่มีหนามก็ยังมีหลายพันธุ์ตั้งไว้ละลานตาให้เลือก อย่างไรก็ตามพันธุ์ที่คนส่วนใหญ่กำลังนิยมมีชื่อว่าถังทอง “ดาวล้อมเดือน" พันธุ์เบสิกดั้งเดิม ภาษาชาวบ้านเรียกว่านแม่ลูกดก ต้นมีหน่อเป็นวงเหมือนมีลูกเยอะๆ พันธุ์พื้นๆที่คนซื้อไปก็มีมะนาวหิน เมโล ยิมโน แต่ที่กำลังนิยมตอนนี้ได้แก่ ถังทอง เป็นไม้ทรงกลมขนาดใหญ่ต้นยิ่งโตยิ่งสวย หนามมีสีทองคลุมรอบต้น โตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางเมตรครึ่ง-2 เมตร บ้านเราที่เลี้ยงกันอยู่นิยมขนาด 5 นิ้ว-6 นิ้ว ใช้เวลาปลูก 3-4 ปี”ราคาและความสวยงามเป็นปัจจัยหลักที่คนตัดสินใจเลือกซื้อ “ไม้ตลาดพื้นๆ ต้นเล็กสวยงาม มีดอก ราคาไม่แพงตั้งแต่ 10 บาท 20 บาท ไม่เกิน 100 บาท เกินจากนี้เป็นไม้ของนักเล่น ดูดได้จนกว่าต้นตะบองเพชรจะตาย ผมเคยนำไปวางไว้หน้าคอมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อมากกว่า จริงๆไม่ได้มีผลดูดให้เห็นกันจะจะขนาดนั้น มีผลบ้างเล็กน้อยทางด้านจิตใจ ตะบองเพชรเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสามารถนำไปตั้งไว้ในบ้านเพื่อความสวยงาม เหมาะที่จะนำไปตั้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์”สำหรับจักษุแพทย์ศักดิ์ชัยแสดงความเห็นส่วนตัวว่าการที่ตะบองเพชรสามารถดูดรังสีได้นั้นน่าจะเป็นเพราะว่า “พืชสีเขียวมีคลอโรฟิลล์รับแสงแดดอยู่แล้วในการปรุงอาหาร ตะบองเพชรมีสีเขียวมีโอกาสดูดซับรังสีจากคอมบางส่วน แทนที่จะกระจายให้ผู้ใช้โดยตรงเท่านั้น” ไม่ว่าผลที่ได้จะเป็นอย่างไร บางครั้งการได้มองสีเขียวๆของธรรมชาติ แม้เพียงเสี้ยววินาทีเดียวอาจจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อตาได้บ้าง มากกว่าการนั่งแช่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆเพียงอย่างเดียว
***ที่มา:ข้อมูลจากกองอาชีวอนามัยกรมอนามัยเว็บไซต์
satori 5.co.uk/word_articles/hrs/terminal_illness_computer_screens.html-Terminal Illness: Computer Screens เว็บไซด์ http://www.creativeinc.co.uk/em_smog.html ข่าวและภาพบางส่วน จาก ; ผู้จัดการรายวัน 14 เมษายน 2548 ที่มา : http://www.manager.co.th/Daily

ประโยชน์ของแคคตัส

ปัจจุบันนี้มีผู้ปลูกเลี้ยงแคคตัสกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้คงจะเนื่องมาจากลักษณะทรงต้นของแคคตัสที่แตกต่างไปจากพืชอื่นๆ คือ มีหนามขึ้นโดยรอบต้นการเรียงตัวของหนามที่เป็นระเบียบสวยงามอย่างเช่นMammillaria หรือ AStrophytum asterias ที่มีลักษณะตุ่มหนามเป็นปุยนุ่มเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ เป็นต้น และนอกจากทรงต้นของแคคตัสที่แปลกตาต่างจากพืชอื่นๆแล้ว แคคตัสยังเป็นพืชที่มีดอกสวยงามสีสันของดอกสดใสดึงดูดสายตา ไม่ว่าจะเป็นดอกสีแดงสดของ Submatucana caliantha หรือดอกสีขาวสะอาดของ Obregonia denegrii หรือสีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีม่วงหรือสีส้มสด รวมทั้งรูปทรงของดอกที่แตกต่างกันออกไป แคคตัสบางสกุลเช่น สกุล Mammillaria นั้นจะออกดอกเล็กๆ พร้อมกันทั้งต้นดูละลานตา หรือในสกุล Melocactus ที่จะออกดอกบนบริเวณที่เรียกว่า cephalium ซึ่งเป็นลักษณะที่พืชอื่นไม่มี ทั้งรูปร่างลักษณะของต้น การเรียงตัวของตุ่มหนาม สีสัน และรูปร่างของดอกแคคตัสนี้ คงเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้นิยมปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่าไม่มีแคคตัสสักชนิดเดียวที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเลย หลายชนิดที่มีการใช้ประโยชน์บ้างตามท้องถิ่นขึ้นอยู่ ตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ที่ไม่มีต้นใหญ่นั้น ใช้ลำต้นแห้งของแคคตัสสกุล Cereus ทำเสาปลูกเพิงกระท่อมหรือเสาบ้านเตี้ยๆ ได้ขณะเดียวกัน ในแหล่งที่เลี้ยงสัตว์แต่ไม่มีทุ่งหญ้านั้นกิ่งของ Opuntia เมื่อเอาหนามออกแล้วก็ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ นอกจากนั้นกิ่งอ่อนของ opuntia บางชนิดสามารถขจัดหนามออกได้ง่ายนำมาทอดรับประทานในประเทศเม็กซิโกและญี่ปุ่น ส่วนในรัฐเท็กซัสนั้นนิยมนำมาต้มรับประทานแทนผัก ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 พวกทหารเรือที่ออกทะเลนิยมต้ม Opuntia รับประมานแทนผัก เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นเดือนอีกทั้งช่วยป้องกันโรคบางชนิดได้อีกด้วย
ผลของ opuntia ficus-india ซึ่งเป็น Opuntia ที่มีดอกสีเหลืองนั้นสามารถนำมารับประทานได้ ผลมีลักษณะคล้ายลูกแพร์จึงเรียกกันว่า pricky pear ผลมีสีต่างกันไปขึ้นกับพันธุ์เช่น var.iutea ผลสีเหลือง var. rubar ผลสีแดง cv.Asperma ผลเล็กสีเหลืองและมีเมล็ดขนาดเล็ก var.serotima มีผลสีเหลืองแต่ออกผลช้ากว่าพันธุ์อื่น หรืออาจมีชนิดที่ผลมีสีเหลืองอมแดงหรือลายเหลืองแดงน้ำที่อยู่ในผลจะมีสีเดียวกับเปลือก ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กและแข็งแต่จัดว่าเป็นไม้ผลที่มีรสหวานอร่อยมาก ผลไม้นี้พบในเขตชื้นของสหรัฐอเมริกาแต่นิยมปลูกในเขตกึ่งร้อนและพบว่าขึ้นตามธรรมชาติในเขตประเทศเม็กซิโก เป็นพืชที่ปลูกในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกาใต้เพื่อส่งเป็นสินค้าส่งออก มีขายทั่วไปในสหรัฐอเมริกา นอกจากรับประทานผลแล้วยังใช้ทำแยม เยลลี่ แผ่นใบใช้เลี้ยงวัวและหมู
นอกจากชนิดที่กล่าวมาแล้วยังมีชนิดอื่นๆ ที่รับประทานได้อีก เช่น O.phaeacantha ผลสีม่วงแดงปลูกแถบนิวเม็กซิโกและรัฐอื่นๆที่ใกล้เคียง จึงมีชื่อสามัญว่า New Mexico Pricky Pear หรือ Purple-fruited Pricky Pear หรือพวก O.brasiliansis , O.tuna , O.streptacamtha และ O.cardoma ชาวเม็กซิกันยังรับประทานผลของแคคตัสอีกหลายชนิดเช่นพวก Hylocereus undatus ซึ่งมีผลสีแดงภายในมีเนื้อสีขาวและมีเมล็ดสีดำกระจายทั่วไปผลมีรสหวาน พบว่ามีปลูกอยู่ในแถบเอเชียเช่น ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งปลูกขายผลทั้งภายในประเทศและส่งไปขายที่ประเทศสิงค์โปร์
นอกจากนี้แล้วยังมีพวก Myrtillocactus geometrizans ซึ่งมีผลขนาดเล็กสีฟ้าขายกันในตลาดเม็กซิโกมีชื่อเรียกกันว่า Garumbullos ผลของ Carnegiea gigantea ก็ว่ากันว่าอร่อยมากสมกับความยากลำบากที่ต้องขึ้นไปเก็บบนต้นที่มีความสูงกว่า 10 เมตรหรือแคคตัสสกุล Echinocereus ที่มีชื่อสามัญว่า Strawberry Cactus นั้นผลมีเนื้อนุ่มรับประทานและรับประทานได้ถึงแม้ว่าผลจะมีหนามแต่เมื่อสุกผลจะนุ่ม สามารถขจัดหนามออกได้ง่าย Echinocactus ที่ผลมีหนามปกคลุมอยู่มากมายนั้น ภายในผลจะฉ่ำน้ำและมีกลิ่นคล้ายแตงโม จึงนิยมนำผลไปเชื่อมเป็นขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า Vizanaga
ประโยชน์ของแคคตัสอีกประการหนึ่งก็คือนำไปทำเป็นที่พักอาศัยได้ สกุล Cereus นำมาทำรั้วทึบโดยที่คนหรือสัตว์ลอกผ่านไม่ได้ สกุลที่เหมาะสมนำมาทำรั้วคือ Pachycereus และ Stenocereus เพราะเป็นพวกมีลำต้นตั้งตรงมีชื่อสามัญว่า Organ Pipe หรือ Organ Cactus หรือสกุล Opunitia ก็นำมาปลูกทำรั้วเช่นกัน ยังมีแคคตัสอีกชนิดหนึ่งคือ Lophophora williamsii หรือที่มีชื่อสามัญว่า Peyote Cactus แถบรัฐเท็กซัสตอนใต้หรือตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกเป็นแคคตัสที่ไม่มีหนาม มีรากคล้ายๆหัว turnip สีเขียวอมเทาส่วนบนของหัวแบ่งออกเป็น 8 ส่วนและมีเนินนูนซึ่งเรียกว่า Mescal-button คล้ายๆกระดุมเมื่อแห้งจะเปราะ แต่จะนุ่มเมื่อถูกน้ำ การนำมาใช้คือ นำหัวมาเฉือนตามขวาง เนินนูนคล้ายกระดุมนั้นจะมีสารที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน ชาวพิ้นเมืองอเมริกันและเม็กซิกันใช้ประกอบพิธีทางศาสนามากว่า 7,000 ปีแล้ว Peyote Cactus ประกอบด้วยสารอัลคาลอยน์ 30 ชนิดมี Mescaline เป็นตัวสำคัญเมื่อใช้แล้วจะมีอาการประสาทหลอน รู้สึกตัวเบา เห็นแสงสีเจิดจ้าขยายม่านตาทำให้กล้ามเนื้อคลาย (ใช้ 10-40 เนินนูน) ถ้าใช้มากจะเกิดอันตราย
จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า แคคตัสสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายด้านสรุปได้คือ
1. นำมารับประทานเป็นอาหารเช่น รับประทานผลสด รับประทานส่วนของต้นที่นำมาเปลี่ยนรูปคือ นำมาเชื่อม ต้ม หรือทอด อีกทั้งนำมาใช้เลี้ยงสัตว์
2. นำมาทำที่พักอาศัย นำมาทำเป็นเสา ทำแนวรั้วหรือผนัง
3. ใช้ในการประกอบพิธีกรรมาทางศาสนาเช่น พิธีกรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกันและเเม็กซิกัน
4. ใช้ในการประดับตกแต่งสถานที่เช่น ตกแต่งกับสวนหินหรือสวนทะเลทราย
5. ปลูกเลี้ยง สะสมพันธุ์ต่างๆให้เกิดความเพลิดเพลิน

อาการต่างๆของแคคตัส

นอกจากนี้ยังจะมีอาการผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการปลูกเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธีที่พอสรุปได้ดังนี้
อาการ

ต้นโตช้าหรือไม่ค่อยโต
สาเหตุ
* น้ำมากเกินไป * ดินแน่น * รากเน่าหรือมีเพลี้ยแป้งที่ราก
วิธีแก้ไข
*ปรับปริมาณการให้น้ำให้เหมาะสม
* เปลี่ยนสูตรดินปลูกหรือรื้อปลูกใหม่
* รื้อต้นออกจากกระถางตัดแต่งรากแล้วปลูกใหม่

อาการ
ต้นอ่อนนุ่ม
สาเหตุ
* ความชื้นสูงกินไป
วิธีแก้ไข
*ลดความชื้นตัดส่วนที่อ่อนนุ่มทิ้งแล้วโรยยากันรา
อาการ
ต้นมีสีเหลือง
สาเหตุ
*แสงมากเกินไป
* ดินเป็นด่าง
* ขาดธาตุเหล็ก

วิธีแก้ไข
*ย้ายที่ตั้งกระถาง
* ปรับปรุงการระบายอากาศและความชื้น
* ตรวจสอบและปรับค่า pHในดิน
* เพิ่มธาตุเหล็กในดิน

อาการ
ต้นหรือหนามมีสีซีดและกร้าน ไม่สดใส
สาเหตุ
* รากเป็นแผล
* ปริมาณแสงไม่เหมาะสม
* อากาศไม่ถ่ายเท

วิธีแก้ไข
* ตัดแต่งราก และเปลี่ยนกระถางใหม่
* ปรับปริมาณแสงให้เหมาะสม
* ย้ายต้นไปไว้ในที่มีลมโกรกอากาศถ่ายเท
อาการ
ไม่ออกดอกหรือออกดอกน้อย
สาเหตุ
* ต้นได้รับไนโตรเจนมากเกินไป
* ได้รับแสงไม่เพียงพอจะแตกตาดอก
วิธีแก้ไข
* ลดปริมาณไนโตรเจนเพิ่มฟอสฟอรัส
* ย้ายที่ตั้งให้ได้รับแสงมากขึ้น

อาการ
ดอกไม่บานหรือเหี่ยวก่อนบาน
สาเหตุ
*อุณหภูมิต่ำเกินไปหรือมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเป็นระยะ
วิธีแก้ไข
* ย้ายกระถางไปตั้งในที่ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น

อาการ
ต้นเป็นรอยย่น
สาเหตุ
* เป็นการพัฒนาของต้นบางชนิดขึ้นตามอายุ








โรคและแมลงของแคคตัส

โรคที่พบบ่อยๆ
โดยปกติแล้วแคคตัสจะไม่ค่อยมีโรครบกวนมากนัก จะมีก็แต่โรคที่เป็นสุดยอดปัญหาของแคคตัสคือ โรครา หรือบางทีก็เรียกกันว่า โรคเน่า ที่เกิดจากการเอาใจใส่ดูแลแคคตัสมากเกินไป
สาเหตุ - รดน้ำมากเกินไป
- อากาศไม่ถ่ายเท
- วัสดุปลูกแน่นทึบ ไม่ระบายน้ำ
อาการ - ต้นมีรอยแผลถลอกหรือช้ำเน่า อาจเป็นจุดสีน้ำตาลหากไม่รีบตัดทิ้งหรือรักษา จุดจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนต้นเน่าตายในที่สุด
การแก้ไข - ตัดส่วนที่เน่าทิ้งไป โดยตัดให้เหนือแผลประมาณ 1-2 นิ้วใช้คอปเปอร์ซัลเฟตหรือยาฆ่าเชื้อราทารอยตัดและบริเวณใกล้เคียงให้ทั่ว
วิธีการป้องกัน - รดน้ำในปริมาณที่พอเหมาะพอดี
- ตรวจดูวัสดุปลูกว่าระบายน้ำดีหรือไม่
ข้อแนะนำ
* อาการโคนเน่าจะรักษาง่ายกว่าอาการยอดเน่า
*โรครามักระบาดในช่วงฤดูฝนที่อากาศค่อนข้างชื้น ควรยกกระถางแคคตัสเข้าในที่ไม่โดนน้ำฝนหรือทำพลาสติกกันฝนให้ต้นเพราะน้ำที่ตกค้างตามต้นในช่วงกลางคืน จะทำให้สปอร์ของเชื้อราเติบโตอย่างรวดเร็ว

ปัญหาจากแมลง
เพลี้ยแป้ง (Mealy Bug)
เป็นแมลงขนาดเล็กศัตรูตัวสำคัญของแคคตัส ลำตัวอ่อนนุ่มปกคลุมด้วยผงสีขาวและไขมัน มักซ่อนอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ยากเช่น รอบๆ ฐานตุ่มหนาม ซอกหนาม โคนต้น และที่ราก
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ต้นหงิกงอเหี่ยวแห้ง ชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้ในที่สุด
วิธีป้องกันกำจัด เก็บทิ้ง ใช้แอลกอฮอล์เช็ดที่ผิวต้น หากระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างมาลาไธออนหรือไพรีทรอยด์ทุก 7-10 วัน
เพลี้ยแป้งที่ราก (Root Medly Bug)
เป็นแมลงที่อันตราย ลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งมักอาศัยอยู่ที่ราก
อาการ กัดทำลายระบบราก ต้นจะเหี่ยวและตายในที่สุด
วิธีป้องกันจำกัด ใช้วิธีเดียวกับเพลี้ยแป้ง
เพลี้ยหอย (Scale Insect)
เป็นแมลงที่มีรูปร่างกลมคล้ายหัวเข็มหมุด ขับสารเคมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งสีน้ำตาลออกมาเป็นเปลือกแข็งคล้ายเปลือกหอยหุ้มตัวไว้ มักอาศัยอยู่บริเวณโคนหนาม
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
วิธีการป้องกัน แคะออกด้วยไม้จิ้มฟัน หากระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างมาลาไธออนหรือนิโคติลซัลเฟต
เพลี้ยอ่อน (Aphids)
ลำต้นมีสีเขียว น้ำตาลปนแดงหรือดำ มักเกาะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนอ่อนๆ ของต้นหรือที่บริเวณดอก ต้นจะแคระแกร็น เจริญเติบโตผิดลักษณะ
เพลี้ยไฟ (Thrips)
เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เคลื่อนที่ได้เร็ว
อาการ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้ผิวต้นซีดเป็นจุดสีขาวหรือสีเหลือง
วิธีป้องกันจำกัด ฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึมอย่างนิโคตินซัลเฟต
ไรแดง (Red Spider Mites)
ไรแดงเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นเป็นจุกขนาดเล็กสีแดงหรือสีน้ำตาลแห้ง
อาการ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
วิธีป้องกันกำจัด ฉีดน้ำไล่หรือฉีดพ่นด้วยสารประเภทดูดซึม เช่น มาลาไธออน โดยฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน
ทากและหอยทาก (Snails&Slugs)
เป็นศัตรูที่ก่อปัญหามากเช่นกัน พวกนี้จะคอยกัดกินต้นไม้
อาการ กัดกินต้น
วิธีป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีที่เป็นผงโรยไล่ทาก หากมีไม่มากก็ใช้มือจับออกไป
ข้อแนะนำ
* การใช้ยาฆ่าแมลงนั้นจะใช้ต่อเมื่อพบว่าต้นถูกแมลงรบกวนและจะหยุดใช้ยาต่อเมื่อมั่นใจว่าแมลงเหล่านั้นหมดไปจากต้น
* เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายสารเหนียวคล้ายน้ำหวานที่มดชอบ เพลี้ยจะเกาะอาศัยมดแพร่ระบาดไปยังส่วนต่างอื่นๆ หรือต้นอื่นๆ
* เพลี้ยอ่อนจะขับถ่ายสารเหนียวคล้ายกับเพลี้ยแป้ง นอกจากจะเป็นอาหารของมดแล้วยังเป็นอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของราดำ (Sooty mold) ด้วย ราดำจะเกาะตามผิวต้นทำให้ดูสกปรกบังส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้ต้นสังเคราะห์แสงได้น้อยลง
* ไรแดงจะระบาดมากในช่วงที่มีอากาศร้อน
* หากสังเกตพบว่ามีรอยสีเงินตามพื้น แสดงว่าหอยทากกำลังจู่โจมแคคตัสอยู่ โดยเฉพาะต้นที่อยู่ในที่ร่มที่มีความชื้นสูง